กรอบแนวคิดในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น
แนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลป่าบง ในปี 2559 – 2561 ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาที่มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาระดับต่าง ๆ ทั้งระดับชาติ และแผนพัฒนาระดับจังหวัด โดยคำนึงถึงอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ในส่วนประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
การพัฒนาตามนโยบายของรัฐบาล
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 – 2559)
วิสัยทัศน์ประเทศไทย
มุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง”
พันธกิจ
การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์บนหลักการของการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติในทุกมิติของการพัฒนา มีพันธกิจ ดังนี้
(1) สร้างสังคมเป็นธรรมและเป็นสังคมที่มีคุณภาพ ทุกคนมีความมั่นคงในชีวิต ได้รับการคุ้มครองทางสังคมที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาค ทุกภาคส่วนได้รับการเสริมพลังให้สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา ภายใต้ระบบบริหารจัดการภาครัฐที่โปร่งใส เป็นธรรม
(2) พัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีคุณธรรม เรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะและการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย สถาบันทางสังคมและชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง สามารถปรับตัวรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง
(3) พัฒนาฐานการผลิตและบริการให้เข้มแข็งและมีคุณภาพบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญา สร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ปรับโครงสร้างการผลิตและการบริโภคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
(4) สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ
วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลัก
วัตถุประสงค์
(1) เพื่อเสริมสร้างสังคมที่เป็นธรรมและเป็นสังคมสันติสุข
(2) เพื่อพัฒนาคนไทยกลุ่มวัยอย่างเป็นองค์รวมทั้งทางกาย ใจ สติปัญญา อารมณ์ คุณธรรม จริยธรรม และสถาบันทางสังคมมีบทบาทหลักในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ
(3) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีเสถียร คุณภาพ และยั่งยืน มีความยั่งยืนมีความเชื่อมโยงกับเครือข่ายการผลิตสินค้าและบริการบนฐานปัญญา นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ในภูมิภาคอาเซียน มีความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน การผลิตและการบริโภคเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนำไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ
(4) เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เพียงพอต่อการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และเป็นฐานที่มั่นคงของการพัฒนาประเทศ
เป้าหมายหลัก
(1) ความอยู่เย็นเป็นสุขและความสงบสุขของสังคมไทยเพิ่มขึ้น ความเหลื่อมล้ำในสังคมลดลงสัดส่วนผู้อยู่ใต้เส้นความยากจนลดลง
(2) คนไทยมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีสุขภาวะดีขึ้น มีคุณธรรม จริยธรรม และสถาบันทางสังคมมีความเข้มแข็งมากขึ้น
(3) เศรษฐกิจเติบโตในอัตราที่เหมาะสมตามศักยภาพของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
(4) คุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ป่าไม้เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
การพัฒนาประเทศให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ปรับเปลี่ยนเร็วคาดการณ์ได้ยากและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยเร่งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยง และเสริมรากฐานประเทศด้านต่าง ๆ ให้เข้มแข็งควบคู่ไปกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม รวมทั้งสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้และความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1) ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
1.1) การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทุกคนในสังคมไทยควบคู่กับการเสริมสร้างขีดความสามารถในการจัดการความเสี่ยงและสร้างโอกาสในชีวิตให้แก่ตนเอง
1.2) การจัดบริการสังคมให้ทุกคนตามสิทธิขั้นพื้นฐาน เน้นการสร้างภูมิคุ้มกันระดับปัจเจก และสร้างการการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในการพัฒนาประเทศ
1.3) การเสริมสร้างพลังให้ทุกคนสามารถเพิ่มทางเลือกการใช้ชีวิตในสังคมและมีส่วนร่วมในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้อย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี
1.4) การสานสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคมให้มีคุณค่าร่วมและตระหนักถึงผลประโยชน์ของสังคม และเสริมสร้างการบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใสมีระบบตรวจสอบและการรับผิดชอบที่รัดกุม
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
2.1) การพัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง
2.2) การส่งเสริมการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม
2.3) การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2.4) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม
3) ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน
3.1) การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็ง
และยั่งยืน
3.2) การเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการผลิตภาคเกษตร
3.3) การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิต
3.4) การสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกร
3.5) การสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพัฒนาพลังงานชีวภาพในระดับครัวเรือ และชุมชน
4) ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
4.1) การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่มีคุณภาพและยั่งยืน
4.2) การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม
4.3) การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพ เท่าเทียม
และเป็นธรรม
5) ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
5.1) การพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ภายใต้กรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคต่างๆ
5.2) การพัฒนาฐานลงทุนโดยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค
5.3) การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
5.4) การมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการสร้างสังคมนานาชาติที่มีคุณภาพชีวิต ป้องกันภัย จากการก่อการร้ายและอาชญากรรม ยาเสพติด ภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรคภัย
5.5) การเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้ว
5.6) การปรับปรุงและเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคีการพัฒนาภายในประเทศตั้งแต่ระดับชุมชนท้องถิ่น
6) ยุทธศาสตร์การจัดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
6.1) การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.2) การปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศเพื่อเตรียมพร้อมไปสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
6.3) การยกระดับขีดความสามารถในการรองรับและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้สังคมมีภูมิคุ้มกัน
6.4) การเตรียมความพร้อมรองรับกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ
6.5) การสร้างภูมิคุ้มกันด้านการค้าจากเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมและวิกฤตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
6.6) การควบคุมและลดมลพิษ
6.7) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรมอย่างบูรณาการ
แผนการบริหารราชการแผ่นดิน
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ในการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐบาลมีนโยบายต่างๆ 11 ด้าน โดยได้นำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศว่าด้วยความเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นสำคัญ ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทรงเน้นความพอดี พอสม แก่ฐานะ ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกันมาเป็นแนวคิด ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 แนวทางของ คสช. และความต้องการของประชาชนที่แสดงออกมาโดยตลอด ซึ่งน่าจะชัดเจนขึ้นในช่วงเวลาแห่งการออกแบบการปฏิรูปประเทศ เป็นแนวทางการกำหนดนโยบาย คำนึงถึงปัญหาของประเทศ คำนึงถึงเงื่อนเวลา คำนึงถึงความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้า ได้แก่การที่ประเทศต้องเร่งฟื้นฟูจากความบอบช้ำทางเศรษฐกิจ ความหวาดระแวงทางสังคม จนกลายเป็นความขัดแย้งทางการเมือง การทุจริตประพฤติมิชอบในภาครัฐ จนกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนอิดหนาระอาใจและเข็ดขยาด และการเคลื่อนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่ต้องมีความพร้อม ไม่ถูกใครอื่นมองว่าเราเป็นตัวปัญหาของประชาคม ข้อสำคัญนโยบายทุกด้าน ต้องสร้างความเข้มแข็งแด่องค์กรปกครองทุกระดับ ตั้งแต่ท้องถิ่นถึงประเทศ ต้องการเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน ครอบคลุมปัญหาทั้งระยะเฉพาะหน้าที่ต้องทำทันที ระยะกลางที่ต้องทำต่อไปหรือต้องรอการบังคับใช้กฎหมาย และระยะยาว แม้จะไม่เห็นผลในระยะอันใกล้ แต่รัฐบาลนี้ต้องการวางรากฐานเพื่อให้รัฐบาลข้างหน้าเข้ามารับช่วงได้อย่างต่อเนื่อง ประการสำคัญ ต้องการให้ประชาชนเกิดความชัดเจน รู้ล่วงหน้าว่าประเทศของเราจะก้าวไปทางไหน
1. นโยบายการปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ จะใช้มาตรการทางกฎหมายมาตรการทางสังคมจิตวิทยา และมาตรการทางระบบสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการกับผู้คะนองปาก ย่ามใจหรือประสงค์ร้าย มุ่งสั่นคลอนสถาบันหลักของชาติ โดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกและความผูกพันภักดีของคนอีกเป็นจำนวนมาก ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและเป็นจริงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชน ทั้งจะสนับสนุนโครงการทั้งหลายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตลอดจนเร่งขยายผลตามโครงการและแบบอย่างที่ทรงวางรากฐานไว้ให้แพร่หลายเป็นที่ประจักษ์และเกิดประโยชน์ในวงกว้างอันจะช่วยสร้างความสมบูรณ์พูนสุขแด่ประชาชนในที่สุด
2. นโยบายการรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ ในระยะเร่งด่วน รัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนในกิจการ 5 ด้าน ได้แก่ การบริหารจัดการชายแดน การสร้างความมั่นคงทางทะเล การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การสร้างความไว้วางใจกับประเทศเพื่อนบ้านและการเสริมสร้างในการปฏิบัติการทางการทหารร่วมกันของอาเซียน โดยเน้นความร่วมมือเพื่อป้องกัน แก้ไขข้อพิพาทต่างๆและการแก้ไขปัญหาเส้นเขตแดนโดยใช้กลไกระดับทวิภาคีและพหุภาคี เร่งแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคมใต้ โดยนำยุทธศาสตร์ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนามาใช้ตามแนวทางกัลยาณมิตรแบบสันติวิธี ส่งเสริมการพูดคุยสันติสุขกับผู้มีความคิดเห็นต่างจากรัฐ สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมตามหลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชนโดยไม่เลือกปฏิบัติ ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ซึ่งเป็นพหุสังคม ขจัดการฉวยโอกาสก่อความรุนแรงแทรกซ้อน เพื่อซ้ำเติมปัญหาไม่ว่าจากผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง ทั้งจะเพิ่มระดับปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศที่อาจช่วยคลี่คลายปัญหาได้
พัฒนาและเสริมสร้างของกองทัพและระบบป้องกันประเทศให้ทันสมัย มีความพร้อมในการรักษาอธิปไตย และผลประโยชน์ของชาติ ปลอดพ้นจากการคุกคามทุกรูปแบบ ส่งเสริมและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตนเองในการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ สามารถบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศได้ เสริมสร้างความความสัมพันธ์อันดีกับนานาประเทศบนหลักการที่ว่านโยบายการต่างประเทศเป็นส่วนประกอบสำคัญของนโยบายองค์รวมทั้งหมดในการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่ว่าในด้านการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม โดยจะนำกลไกทางการทูตแบบบูรณาการมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การคุ้มครองดูแลคนไทยและผลประโยชน์ของคนไทยในต่างแดน การแลกเปลี่ยนทางการศึกษา วัฒนธรรม การค้า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการเปิดโลกทัศน์ให้มีลักษณะสากล เป็นต้น
3. นโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ ในระยะเฉพาะหน้า จะเร่งสร้างโอกาส อาชีพ และการมีรายได้ที่มั่นคงแก่ผู้ที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยให้แรงงานทั้งระบบมีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้และพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานในทุกระดับอย่างมีมาตรฐาน ป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ รวมถึงปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง การทารุณกรรมต่อแรงงานข้ามชาติ การท่องเที่ยวที่เน้นบริการทางเพศและเด็ก และปัญหาคนขอทาน โดยการปรับปรุงกฎหมายข้อบังคับที่จำเป็นและเพิ่มความเข้มงวดในการระวังตรวจสอบ
ในระยะต่อไป จะพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคม ระบบการออมและระบบสวัสดิการชุมชนให้มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการดูแลให้มีระบบการกู้ยืมที่เป็นธรรมและการสงเคราะห์ผู้ยากไร้อัตภาพ พัฒนาศักยภาพ คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิจัดสวัสดิการช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้สูงอายุ สตรีและเด็ก เตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต และการมีเงินหรือกิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อสร้างสรรค์และไม่ก่อภาระต่อสังคมในอนาคต โดยจัดเตรียมระบบการดูแลในบ้าน สถานพักฟื้น และโรงพยาบาล ที่เป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และครอบครัว รวมทั้งพัฒนาระบบการเงินการคลังสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ
เตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมที่มีความหลากหลาย เนื่องจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยสร้างความเข้มแข็งและความพร้อมแก่แรงงานไทยและร่วมพัฒนาระบบความคุ้มครองทางสังคมของแรงงานอาเซียน
จัดระเบียบสังคม สร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนทั่วไป โดยใช้ค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ได้ประกาศไว้แล้ว แก้ปัญหาการไร้ที่ดินทำกินของเกษตรกรและการรุกล้ำเขตป่าสงวน โดยการกระจายสิทธิการถือครองให้แก่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้รุกล้ำ และออกมาตรการป้องกันการเปลี่ยนมือไปอยู่ในครอบครองของผู้ที่มิใช่เกษตรกร ใช้เทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจและวิธีการแผนที่ที่ทันสมัย แก้ไขปัญหาเขตที่ดินทับซ้อนและแนวเขตพื้นที่ป่าที่ไม่ชัดเจน อันก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ
4. นโยบายการศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม จัดให้มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ โดยให้ความสำคัญทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน เพื่อสร้างคุณภาพของคนไทยให้สามารถเรียนรู้ พัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ โดยเน้นการเรียนรู้เพื่อสร้างสัมมาชีพในพื้นที่ ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนากำลังคนให้เป็นที่ต้องการเหมาะสมกับพื้นที่ ทั้งในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และธุรกิจบริการระยะเฉพาะหน้า จะปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการศึกษาให้สอดคล้องกับความจำเป็นของผู้เรียนและลักษณะพื้นที่ของสถานศึกษา จัดระบบการสนับสนุนให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปมีสิทธิเลือกรับบริการการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียน โดยจะพิจารณาจัดให้มีคูปองการศึกษาเป็นแนวทางหนึ่งให้องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแลประขาชนทั่วไปมีโอกาสร่วมจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและทั่วถึง และร่วมในการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ กระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาสู่สถานศึกษา โดยให้สถานศึกษาสามารถเป็นนิติบุคคลและบริหารจัดการได้อย่างอิสระและคล่องตัวขึ้น
พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพและมีจิตวิญญาณของความเป็นครู เน้นครูผู้สอนให้มีวุฒิตรงตามวิชาที่สอน นำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยครูหรือเพื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เช่น การเรียนทางไกล รวมทั้งระบบการประเมินสมรรถนะที่สะท้อนประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญทะนุบำรุงและอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆ สนับสนุนให้องค์กรทางศาสนามีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ตลอดตนพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างสันติสุขและความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมไทยอย่างยั่งยืน
5. นโยบายการยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพของประชาชน โดยวางรากฐานให้ระบบหลักประกันสุขภาพครอบคลุมประชากรในทุกภาคส่วนอย่างมีคุณภาพโดยไม่มีความเหลื่อมล้ำของคุณภาพบริการในแต่ละระบบ และบูรณาการข้อมูลระหว่างทุกระบบหลักประกันสุขภาพ พัฒนาระบบบริหารสุขภาพ โดยเน้นการป้องกันโรคมากกว่ารอให้ป่วยแล้วจึงมารักษา สร้างกลไกจัดการสุขภาพในระดับเขตแทนการกระจุกตัวอยู่ที่ส่วนกลาง ปรับระบบการจ้างงาน การกระจายบุคลากรและทรัพยากรสาธารณสุขให้เหมาะสมกับท้องถิ่น สนับสนุนความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ประสานการทำงานระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในสังคม เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และปัญหาด้านการแพทย์และจริยธรรมของการอุ้มบุญ การปลูกถ่ายอวัยวะและสเต็มเซลล์ โดยจัดให้มีมาตรการและกฎหมายที่รัดกุม
6. นโยบายการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลจะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการทันที ระยะต่อไปที่ต้องแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่ค้างคาอยู่ และระยะยาวที่ต้องวากรากฐานเพื่อความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
ในระยะเร่งด่วน เร่งจ่ายงบลงทุนของปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ที่ยังค้างอยู่ก่อนที่จะพ้นกำหนดภายในสิ้นปีนี้สานต่อนโยบายงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติทีได้จัดทำไว้ โดยนำหลักการสำคัญของการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ที่ให้ความสำคัญในการบูรณาการงประมาณ และความพร้อมในการดำเนินงานร่วมนำแหล่งเงินอื่นมาประกอบการพิจารณาด้วย ทบทวนภารกิจที่มีลักษณะไม่ยั่งยืนหรือสร้างภาระหนี้สาธารณะของประเทศเกินความจำเป็นและแสดงรายการลงทุนในระดับจังหวัดเพื่อความโปร่งใส เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ กระตุ้นการลงทุนด้ายการเร่งพิจารณาโครงการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งนักลงทุนยื่นขออนุมัติส่งเสริมการลงทุนไว้แล้วให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว และนำโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานประเภทที่มีผลตอบแทนดี เช่น โครงการขนส่งมวลชนในกทม.มาจัดทำเป็นโครงการลงร่วมกับเอกชน ซึ่งจะช่วยสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดีทั้งในวงการก่อสร้าง วงการอสังหาริมทรัพย์และตลาดการเงินดูแลเกษตรให้มีรายได้ที่เหมาะสมด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ลดต้นทุนการผลิต การช่วยเหลือในเรื่องปัจจัยการผลิตอย่างทั่วถึงลดอุปสรรคในการส่งออกเพื่อให้เกิดความคล่องตัว เช่น ปรับปรุงวิธีการตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าและมาตรฐานการผลิตระดับไร่นา เป็นต้น ชักจูงให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย โดยพิจารณามาตรการลดผลกระทบจากการประกาศใช้กฎอัยการศึกในบางพื้นที่ที่มีต่อการท่องเที่ยวในโอกาสแรกที่จะทำได้ เน้นการให้ความรู้ และเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การควบคุมสินค้าและบริการให้มีคุณภาพราคาเป็นธรรม
ในระยะยาวต่อไป ประสานนโยบายการเงินและการคลังให้สอดคล้องกันเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจพร้อมกับการรักษาเสถียรภาพของราคาอย่างเหมาะสม แก้ปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนและปัญหาขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่และบางฤดูกาลโดยระดมความคิดเห็นเพื่อหาทางออกไม่ให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงดังเช่นปี 2554 ส่วนภาวะภัยแล้งนั้นรัฐบาลจะเร่งดำเนินการสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กให้กระจายครอบคลุม ซึ่งจะสามารถทำได้ในเวลาประมาณ 1 ปี ปฏิรูปโครงสร้างราคาเชื้อเพลิงประเภทต่างๆให้สอดคล้องกับต้นทุนและให้มีภาระภาษีที่เหมาะสมระหว่างน้ำมันต่างชนิดและผู้ใช้ต่างประเภท รวมถึงการดำเนินการให้มีการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบรอบใหม่ทั้งในทะเลและบนบก และดำเนินการให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นโดยหน่วยงานของรัฐและเอกชน ด้วยวิธีการเปิดเผย โปร่งใส และเป็นมิตรต่อสภาวะแวดล้อม พร้อมกับร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการพัฒนาพลังงานปรับปรุงวิธีการจัดเก็บภาษีให้จัดเก็บอย่างครบถ้วน โดยปรับปรุงโครงสร้างภาษีให้คงภาษีเงินได้ไว้ในระดับปัจจุบัน ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล แต่ปรับปรุงโครงสร้างอัตราภาษีทางด้านการค้าและขยายรากฐานการจัดเก็บภาษีประเภทใหม่ ซึ่งจะจัดเก็บจากทรัพย์สิน เช่น ภาษีมรดก ภาษีจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยให้มีผลกระทบต่อผู้มีรายได้น้อยให้น้อยที่สุด รวมทั้งปรับปรุงการลดหย่อนภาษีเงินได้ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้มีรายได้น้อย และยกเลิกการยกเว้นภาษีประเภทที่เอื้อประโยชน์เฉพาะผู้ที่มีฐานะการเงินดี เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้นบริหารจัดการหนี้ภาครัฐที่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา ซึ่งจำนวนสูงมากกว่า 700,000 ล้านบาท และเป็นภาระงบประมาณใน 5 ปีข้างหน้า อันจะทำให้เหลืองบประมาณเพื่อการลงทุนพัฒนาประเทศน้อยลง โดยประมวลหนี้เหล่านี้ให้ครบถ้วน หาแหล่งเงินระยะยาวมาสะสางหนี้ทั้งหมด และยืดระยะเวลาชำระคืนให้นานที่สุดเพื่อลดภาระของงบประมาณในอนาคตในระยะยาว พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและคมนาคมทางบกโดยเริ่มโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใน กทม. และรถไฟฟ้าเชื่อมกทม.กับเมืองบริวารเพิ่มเติมเพื่อลดเวลาในการเดินทางของประชาชน เพื่อตั้งฐานให้รัฐบาลต่อไปทำได้ทันที ด้านคมนาคมทางอากาศ โดยปรับปรุงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานในภูมิภาค เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้านการคมนาคมทางน้ำโดยพัฒนาการขนส่งสินค้าทางลำน้ำชายฝั่งทะเล เพื่อลดต้นทุนระบบโลจิสติกส์ของประเทศ เริ่มจากการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ตลอดจนผลักดันให้ท่าเรือในลำน้ำเจ้าพระยาและป่าสักมีการใช้ประโยชน์ในการขนส่งสินค้าภายในประเทศและเชื่อมโงกับท่าเรือแหลมฉบัง รวมทั้งการขุดลอกร่องน้ำลึกปรับโครงสร้างการบริหารจัดการในสาขาขนส่งที่มีการแยกบทบาทและภารกิจของหน่วยงานในระดับนโยบาย หน่วยงานกำกับดูแล และหน่วยปฎิบัติที่ชัดเจน และจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลระบบราง เพื่อทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานการให้บริการและความปลอดภัย โครงสร้างอัตราค่าบริการที่เป็นธรรม การลงทุน การบำรุงรักษาและการบริหารจัดการ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาระบบรางให้เป็นโครงข่ายหลักของประเทศ พัฒนาและปรับปรุงระบบบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ กำหนดเป้าหมายและมาตรการที่จะแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูกิจการ ตลอดจนพิจารณาความจำเป็นในการคงบทบาทการเป็นรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันในด้านเกษตรกรรม ดำเนินการใน 2 เรื่องใหญ่ คือ การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การแบ่งเขตเพื่อปลูกพืชแต่ละชนิด ในด้านอุตสาหกรรม ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของประเทศ เช่น ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ตั้งแต่ต้นนำจนถึงปลายน้ำ ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้การออกแบบและสร้างสรรค์เพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัลและวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลให้เริ่มขับเคลื่อนได้อย่างจริงจัง ซึ่งจะทำให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลกและสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้ ปรับปรุงบทบาทและภารกิจของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงให้ดูแลและผลักดันงานสำคัญของประเทศชาติในเรื่องนี้และจะจัดให้มีคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างจริงจัง
7. นโยบายการส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน เร่งพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการขนส่งภายในอนุภูมิภาคและภูมิอาเซียน โดยเร่งขับเคลื่อนตามแผนงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) แผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) แผนความร่วมมือแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC) และแผนแม่บทความเชื่อมโยงในอาเซียนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยเริ่มจากการพัฒนาด่านการค้าชายแดนและโครงข่ายการคมนาคมขนส่งบริเวณประตูการค้าหลักของประเทศเพื่อรองรับการเชื่อมโยงกระบวนการผลิตและการลงทุนข้ามแดน พัฒนาระบบ National Single Window (NSW) โดยระยะแรกให้ความสำคัญกับด่านชายแดนที่สำคัญ 6 ด่าน ได้แก่ ปาดังเบซาร์ สะเดา อรัญประเทศ แม่สอด บ้านคลองลึก และบ้านคลองใหญ่
8. นโยบายการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและการพัฒนา และนวัตกรรมสนับสนุนการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของประเทศเพื่อมุ่งเป้าหมายให้ไม่ต่ำกว่า 1% ของรายได้ประชาชาติและมีสัดส่วนรัฐต่อเอกชน 30:70 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันส่งเสริมให้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศ เช่น ด้านพลังงานสะอาด ระบบราง ยานยนต์ ไฟฟ้า การจัดการน้ำและขยะ ใช้ประโยชน์จากผลการศึกษาวิจัย และพัฒนาและนวัตกรรมของไทยตามความเหมาะสม ในกรณีที่จำเป็นจะต้องซื้อวัสดุอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีจากต่างประเทศจะให้มีเงื่อนไขการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ในอนาคตด้วย
9. นโยบายการรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ในระยะเฉพาะหน้า เร่งป้องกันและฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า โดยให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ จัดทำแนวเขตแดนของรัฐให้ชัดเจน ส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่เอกชนเพื่อลดแรงกดดันในการตัดไม้จากป่าธรรมชาติในระยะต่อไป พัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดินและแก้ไขการบุกรุกที่ดินของรัฐโดยยึดแนวพระราชดำริที่ให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้ เช่น กำหนดเขตป่าชุมชนให้ชัดเจน บริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศให้เป็นเอกภาพในทุกมิติทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ จัดให้มีแผนบริหารน้ำของประเทศ เพื่อให้การจัดทำแผนงานไม่เกิดความซ้ำซ้อนมีความเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบเร่งรัดการควบคุมมลพิษทางอากาศ ขยะ และน้ำเสีย ที่เกิดจากการผลิตและบริโภค ในพื้นที่ใดที่สามารถจัดการขยะมูลฝอย โดยการแปรรูปเป็นพลังงานก็จะสนับสนุนให้ดำเนินการ ส่วนขยะอุตสาหกรรมนั้นจะวางระเบียบมาตรการเป็นพิเศษ โดยกำหนดให้ทิ้งในบ่อขยะอุตสาหกรรมที่สร้างขึ้นแบบมีมาตรฐาน และพัฒนาระบบตรวจสอบไม่ให้มีการลักลอบทิ้งขยะติดเชื้อ และใช้มาตรการทางกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด
10. นโยบายการส่งเสริมการบริหารราชกาแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ จัดระบบอัตรากำลังและปรับปรุงค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐให้เหมาะสมและเป็นธรรม ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นวางใจในระบบราชการ ลดต้นทุนดำเนินการของภาคธุรกิจเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศ การรักษาบุคลากรภาครัฐที่มีประสิทธิภาพไว้ในระบบราชการ โดยจะดำเนิเนการตั้งแต่ระยะเฉพาะหน้าไปตามลำดับความจำเป็นและตามที่กฎหมายเอื้อให้สามารถดำเนินการได้ในระยะแรก กระจายอำนาจเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริหารสาธารณะได้รวดเร็ว ทั้งจะวางมาตรการทางกฎหมาย มิให้เจ้าหน้าที่หลีกเลี่ยง ประวิงเวลา หรือใช้อำนาจโดยมิชอบก่อให้เกิดการทุจริต หริอสร้างความเสียหายแก่ประชาชนโดยเฉพาะนักลงทุน ในระยะเฉพาะหน้าจะเน้นการปรับปรุงหน่วยงานให้บริการด้านการทำธุรกิจ การลงทุน และด้านบริการสาธารณะในชีวิตประจำวันเป็นสำคัญ เสริมสร้างระบบคุณธรรมในการแต่งตั้งและโยกย้ายบุคลากรภาครัฐ วางมาตรการป้องกันการแทรกแซงจากนักการเมือง และส่งเสริมให้มีการนำระบบพิทักษ์คุณธรรมมาใช้ในการบริหารงานบุคคลของเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆปรับปรุงและจัดให้มีกฎหมายเพื่อให้ครอบคลุมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และการมีผลประโยชน์ทับซ้อนในภาครัฐทุกระดับ โดยถือว่าเรื่องนี้เป็นวาระสำคัญเร่งด่วนแห่งชาติและเป็นเรื่องที่ต้องแทรกอยู่ในการปฏิรูปทุกด้าน ทั้งจะเร่งรัดการดำเนินการต่อผู้กระทำการทุจริตทั้งในด้านวินัยและคดี รวมทั้งให้ผู้ใช้บริการมีโอกาสประเมินระดับความน่าเชื่อถือของหน่วยงานรัฐ และเปิดเผยผลการประเมินต่อประชาชน อีกทั้งจะทำกรณีศึกษาที่เคยเป็นปัญหา เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง การ่วมทุน การใช้จ่ายเงินภาครัฐ การปฏิบัติโดยมิชอบ ซึ่งได้มีคำวินิจฉัยขององค์กรต่างๆ มาเป็นบทเรียนให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และประมวลเป็นกฎระเบียบหรือคู่มือในการปฏิบัติราชการ 11. นโยบายการปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ในระยะเฉพาะหน้า จะเร่งปรับปรุงประมวลกฎหมายหลักของประเทศและกฎหมายอื่นๆที่ล้าสมัย ไม่เป็นธรรม ไม่สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศ เป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน โดยจะใช้กลไกของหน่วยงานเดิมที่มีอยู่และระดมผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นคณะกรรมการที่จะจัดตั้งขึ้นเฉพาะกิจเป็นผู้เร่งดำเนินการ เพิ่มศักยภาพหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้ความเห็นทางกฎหมาย และจัดทำกฎหมายให้ปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว สามารถให้ความช่วยเหลือภาคเอกชนและประชาชนได้ตามหลักเกณฑ์ที่เปิดกว้างขึ้นในระยะต่อไป จะจัดตั้งองค์กรปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่ปราศจากการแทรกแซงของรัฐนำเทคโนโลยีทีทันสมัยและความรู้ทางนิติวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อเร่งรัดการดำเนินคดีทุกขั้นตอนให้รวดเร็วเกิดความเป็นธรรมปรับปรุงระบบการช่วยเหลือทางกฎหมายและค่าใช้จ่ายแก่ประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยให้เข้าถึงความเป็นธรรมได้ง่ายและรวดเร็ว ส่งเสริมกองทุนยุติธรรมเพื่อช่วยเหลือคนจนและผู้ด้อยโอกาส คุ้มครองผู้ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ และเยียวยาผู้บริสุทธิ์หรือได้รับผลกระทบจากความไม่เป็นธรรมนำมาตรการทางการเงิน ภาษี และการป้องกันการฟอกเงินมาใช้กับการป้องกันและปราบปรามผู้มีอิทธิพลและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทุจริตประพฤติมิชอบ หรือกระทำผิดด้านค้ามนุษย์ แรงงานทาส การก่อการร้ายสากล ยาเสพติด อาชญากรรมข้ามชาติ
นโยบาย เป็นกรอบใหญ่และแนวทางการทำงานของรัฐบาล โดยวางเป้าหมายอยู่ที่การสร้างสังคมให้มีการปฏิรูป มีความเป็นธรรมและไม่ทุจริต โดยหลังจากการแถลงนโยบายแล้ว รัฐบาลจะซักซ้อมความเข้าใจแก่บรรดาเจ้าหน้าที่ซึ่งจะเป็นผู้ปฏิบัติจริงอีกครั้ง รัฐบาลตระหนักว่านโยบายนี้จะสัมฤทธิ์ผลต่อเมื่อมีการจัดทำแผนปฏิบัติราชการรองรับอย่างเป็นรูปธรรม โดยกำหนดหน่วยงานที่จะปฏิบัติ ระยะเวลา วิธีการและงบประมาณที่ชัดเจนสามารถติดตามการทำงานและตรวจราชการได้ รัฐบาลจะจะมอบหมายให้ทุกส่วนราชการ จัดทำแผนปฏิบัติการดังกล่าว โดยจำกัดกรอบเวลาใน 1 ปี
ยุทธศาสตร์หลักที่ คชส. ยึดถือเป็นแนวทาง
- ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
- ยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งภาคการเกษตร ความมั่นคงอาหารและพลังงาน
- ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติมโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
- ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
- ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
- ยุทธศาสตร์ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจให้เกิดประโยชน์กับประชาชนในการใช้บริการอย่างแท้จริง
- ยุทธศาสตร์ในเรื่องการปรับปรุงระบบโทรคมนาคม เทคโนโลยีของชาติให้เกิดความมั่นคงในอนาคตให้ทัดเทียมอาเซียนและประชาคมโลก
- ยุทธศาสตร์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต คอรัปชั่นอย่างยั่งยืน
ค่านิยมหลักของคนไทย
- มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสถาบันหลักของชาติในปัจจุบัน
- ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
- กตัญญูพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
- ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษา เล่าเรียน ทางตรงและทางอ้อม
- รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
- มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หลังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
- เข้าใจ เรียนรู้ การเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
- มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
- มีสติ รู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้
- ถ้าเหลือก็แจกจ่าย จำหน่ายและขยายกิจการ เมื่อมีความพร้อม โดยมีภูมิคุ้มกันที่ดี
- มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลสมีความละอาย เกรงกลัว
ต่อบาปตามหลักของศาสนา
- คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมและต่อชาติ มากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
นโยบายของรัฐบาล
- การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
- การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ
- การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ
- การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
- การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน
- การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
- การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน
- การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และพัฒนา และนวัตกรรม
- การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
- การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล และการป้องกันปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในภาครัฐ
- การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ 4 ปี (พ.ศ.2558 – 2561)
วิสัยทัศน์จังหวัดเชียงใหม่ : นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่งบนฐานของความสง่างามทางวัฒนธรรม และศูนย์กลางการท่องเที่ยว การค้า การลงทุนระดับสากล
พันธกิจ
- ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวและบริการระดับสากล
- ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นเมืองศูนย์กลางของการค้า การลงทุน และการคมนาคมขนส่งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ
- ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นเมืองศูนย์กลางเกษตรปลอดภัย
- ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นเมืองศูนย์กลางทางการศึกษาในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ
- ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่บนพื้นฐานความสง่างามทางวัฒนธรรมล้านนา
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างสมดุลและยั่งยืน ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์
1.1 ยกระดับห่วงโซ่อุปทานอาหารให้มีความเชื่อมโยงกับสินค้าเกษตรในพื้นที่
1.2 สร้างและพัฒนาปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการค้าการลงทุนที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและเชื่อมโยงกับธุรกิจในชุมชนและท้องถิ่น
1.3 ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
1.4 ส่งเสริมและพัฒนาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การผลิตเชิงสร้างสรรค์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : สร้างสังคมแห่งวัฒนธรรม ความรู้ ภูมิปัญญา จิตสาธารณะและพัฒนาศักยภาพคนให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์
2.1 สร้างความเป็นเลิศด้านการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2.2 ส่งเสริมวัฒนธรรม ภูมิปัญญาที่มีศักยภาพ
2.3 ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและจิตสาธารณะ
2.4 พัฒนาคุณภาพคนและสุขภาวะให้เหมาะสมตามช่วงวัย และความหลากหลายของประชาก
การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์
3.1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ป้องกันและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
3.2 เสริมสร้างความร่วมมือและเครือข่ายในการป้องกัน ควบคุม ลดและขจัดมลพิษ
3.3 พัฒนาเทคโนโลยีและเพิ่มประสิทธิภาพ การอนุรักษ์พลังงาน และการใช้พลังงานทดแทนให้เหมาะสมและยั่งยืน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสร้างความมั่นคง ปลอดภัย และความสงบสุขของประชาชน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์
4.1 บูรณาการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงและอาชญากรรม
4.2 เสริมสร้างความมั่งคงพื้นที่ชายแดนและความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
4.3 การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 : การพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐและการให้บริการประชาชนที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรม ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์
5.1 พัฒนาขีดความสมรรถนะและคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรในการปฏิบัติงาน
5.2 เสริมสร้างการบริหารงานอย่างมีส่วนร่วมกับเครือข่ายการพัฒนาจากทุกภาคส่วน
5.3 ส่งเสริมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เชิงรุกและพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง
5.4 เสริมสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และสามารถให้บริการอย่างรวดเร็วและทั่วถึง
ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ.2558 – 2561)
วิสัยทัศน์
“เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาท้องถิ่นบนพื้นฐานของความเข้าใจในปัญหาและศักยภาพของท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน”
พันธกิจ
- เสริมสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- พัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความทันสมัย มีคุณธรรม จริยธรรมตามกฎหมายบัญญัติ
- ส่งเสริมบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น
มีประเด็นยุทธศาสตร์ทั้งหมด 7 ยุทธศาสตร์ 22 กลยุทธ์ 65 แนวทางการพัฒนา ดังนี้
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมกับชุมชน
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่งที่จำเป็น
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสร้างภูมิคุ้มกันระบบ
เศรษฐกิจ
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อรองรับ AEC
กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมการค้า การลงทุน ที่เกิดประโยชน์ในท้องถิ่น
กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับศักยภาพชุมชนและเกิดประโยชน์ต่อคนในท้องถิ่น
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ที่ 1 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน
กลยุทธ์ที่ 2 การควบคุม ป้องกัน แก้ปัญหาขยะและมลภาวะในชุมชน
กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การอนุรักษ์ฟื้นฟูและสืบสาน ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาองค์กรความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในเชิงองค์รวม
กลยุทธ์ที่ 2 อนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในชุมชน
กลยุทธ์ที่ 3 การเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่ภายนอก
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาการศึกษา สาธารณสุขและคุณภาพชีวิต
กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
กลยุทธ์ที่ 2 การส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนในชุมชน
กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การจัดระเบียบภายในชุมชน และการสร้างความร่วมมือในการรักษาความสงบเรียบร้อย
กลยุทธ์ที่ 1 การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชุมชน
กลยุทธ์ที่ 2 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กลยุทธ์ที่ 3 การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อบายมุข และปัญหาแรงงานต่างด้าว
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาขีดความสามารถบุคลากรท้องถิ่น
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล
กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการตรวจสอบควบคุม
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาลตำบลป่าบง (พ.ศ.2559-2562)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างสมดุลและยั่งยืน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
- แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมสนับสนุนการประกอบอาชีพให้แก่ประชาชน
- แนวทางการพัฒนาโครงการส่งเสริมการประกอบอาชีพทางการเกษตรในพื้นที่
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ฟื้นฟู สืบสานศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี
ภูมิปัญญาท้องถิ่น และพัฒนาศักยภาพคนในชุมชน
2.1 แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษา และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชน
2.2 แนวทางการพัฒนาส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนา และวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
2.3 แนวทางการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรคและการบริโภคอาหารสะอาด
2.4 แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตสงเคราะห์ช่วยเหลือ
2.5 แนวทางการพัฒนา สนับสนุน และส่งเสริมการท่องเที่ยว
2.6 แนวทางการพัฒนาส่งเสริมการเล่นกีฬา และการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.1 แนวทางการพัฒนาสร้างจิตสำนึกในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.2 แนวทางการพัฒนาบำบัดและจัดการขยะ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างความมั่นคงปลอดภัย และความสงบสุขของชุมชน
4.1 แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดบำบัดการจัดการขยะ
4.2 แนวทางการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย และบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
5.1 แนวทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ และสร้างกระบวนการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
5.2 แนวทางการพัฒนาปรับปรุงและพัฒนาอุปกรณ์เครื่องใช้ให้ทันสมัย เพียงพอและเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
6.1 พัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ครอบคลุมที่พื้นที่
6.2 พัฒนาระบบสาธารณูปการ เพื่อให้บริการประชาชน
6.3 พัฒนาระบบคมนาคม
การพัฒนาตามนโยบายของผู้บริหาร
นโยบายด้านการเมืองและการบริหารจัดการ
- ส่งเสริมให้มีการติดตั้งกล้องทีวีวงจรปิด เพื่อป้องกันและดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับสถานที่ราชการเขตชุมชนและสถานที่สำคัญภายในเขตเทศบาลตำบลป่าบงเพิ่มประสิทธิภาพและแบ่งเบาภาระในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทั้งภายในงานด้านปราบปรามอาชญากรรมและด้านจราจรเพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน
- สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน โดยจัดรถบริการ การแพทย์ฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง อันจะทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการคุ้มครอง สิทธิในการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึงเท่าเทียม มีคุณภาพมาตรฐาน โดยได้รับการช่วยเหลือและรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์ มากขึ้นพร้อมบริการจัดหาอุปกรณ์การแพทย์ฉุกเฉิน สำหรับบริการประชาชน เช่น คลังแท๊งค์ออกซิเจน เตียงนอนสำหรับผู้ป่วย อุปกรณ์ช่วยเดิน ล้อเข็น เป็นต้น
- ส่งเสริมและจัดตั้งศูนย์ประสานงานรับเรื่องราวร้องทุกข์ให้ประชาชนสามารถแจ้งขอรับความช่วยเหลือในเรื่องความเดือดร้อนต่างๆ ได้ทุกเรื่อง
นโยบายด้านการพัฒนาสังคม และคุณภาพชีวิต
- ส่งเสริมให้มีการจัดสรรที่ดินว่างเปล่าให้กับราษฎรผู้ยากไร้ และไม่มี ที่อยู่อาศัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอันเนื่องมาจากการ ไม่มีที่ดินทำกินหรือมีที่ดินไม่เพียงพอแก่การทำกินพร้อมทั้งจัดสร้าง สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นได้แก่ถนนและแหล่งน้ำเพื่อให้ผู้รับการจัดที่ดิน สามารถใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์มากที่สุดซึ่งมีผลให้สามารถลดความรุนแรง ในการบุกรุกที่ดินของรัฐประชาชนได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นคงและความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน
- สนับสนุนส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี เพื่อให้ประชาชนได้มีสุขภาวะที่ดีภายใต้การเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมการดูแลสุขภาพและสภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวันสำหรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วยเรื้อรัง
3. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต สำหรับกลุ่มสตรีแม่บ้าน อสม. ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส กลุ่มเกษตรกร กลุ่มเยาวชน ทุกหมู่บ้าน โดยการจัดให้มี การจัดตั้งกองทุนส่งเสริมอาชีพ
นโยบายด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
1.ส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาทางการศึกษา ทางการกีฬา สนับสนุนและส่งเสริมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ตามวิถีคนไทย และภูมิใจ ในความเป็นไทย การอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น งานรัฐพิธีต่าง ๆ
นโยบายด้านการสาธารณสุข
1.การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลจำเป็นจะต้องได้รับการจัดการที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้ปัญหาขยายตัวและรุนแรงยิ่งขึ้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยกฎหมายได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
นโยบายด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว
- ส่งเสริมให้มีการติดตั้งอินเตอร์เน็ตไร้สาย (wifi) ซึ่งการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชน ซึ่งไม่เพียงแต่การให้บริการอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่จะครอบคลุมถึงการดำรงชีวิตของประชาชนและการบริการของรัฐเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน
- ส่งเสริม และสนับสนุนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ศูนย์จักสาน ซึ่งเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลในการเพิ่มอาชีพและรายได้ให้กับชุมชนในระดับรากหญ้า และถือเป็นรูปแบบของการกระจายรายได้สู่ชุมชน เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชนในชุมชน
นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมให้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนสายหลักภายในเขตเทศบาลตำบลป่าบงเพื่อให้เกิดความสวยงามและมีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ และเพื่อรองรับการท่องเที่ยว และขุดลอกลำเหมือง ปรับปรุงคู คลอง และทำความสะอาดคลอง ช่วยลดปัญหาน้ำเน่าเสียและป้องกันน้ำท่วม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาหมู่บ้านและคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
ปัจจัยและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนา
ผลการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลป่าบง
ชื่อปัญหา | สภาพปัญหา |
1. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ1.1 ราษฎรมีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ1.2 ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ
1.3 ปัญหาการขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพ / ปัญหาการตลาด |
– ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม / ว่างงานหลังฤดูเก็บเกี่ยว- ราษฎรขาดความรู้ในการประกอบอาชีพที่หลากหลาย- ราษฎรขาดความกระตือรือร้นในการประกอบอาชีพ- ราษฎรขาดแคลนเงินทุนในการผลิต- อัตราค่าจ้างแรงงานต่ำ
– ขาดแหล่งน้ำในการเกษตร ต้องอาศัยน้ำจากลำน้ำกวงซึ่งมีปริมาณน้อย – น้ำในการเกษตรไม่เพียงพอ เนื่องจากลำเหมืองตื้นเขิน มีวัชพืชปกคลุม – ภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวย – ขาดพืชพันธุ์ดี / ขาดปุ๋ย
– ราษฎรตำบลป่าบงส่วนใหญ่มีอาชีพจักสานไม้ไผ่เป็นอาชีพรอง ผลิตในครัว เรือน – ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการทำงานระบบกลุ่ม / ขาดตลาดในการ จำหน่ายผลผลิตประชาชนขาดการรวมตัวกันเพื่อประกอบธุรกิจร่วมกันใน หมู่บ้าน ตำบล – ต้นทุนการผลิตสูง
|
ชื่อปัญหา | สภาพปัญหา |
2. ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน2.1 ปัญหาการคมนาคมไม่สะดวก
2.2 ปัญหาน้ำท่วมขัง
2.3 ปัญหาไฟฟ้า โทรศัพท์ ไม่ทั่วถึง
3. ปัญหาด้านแหล่งน้ำ 3.1 ปัญหาน้ำดื่มน้ำใช้ไม่สะอาดและไม่ทั่วถึงทุกครัวเรือน
3.2 ปัญหาน้ำในการเกษตรฤดูแล้งไม่เพียงพอ
|
– ถนนในหมู่บ้านตำบลบางแห่งคับแคบ มีผิวจราจรกว้างเพียง 4.00 เมตร ไม่มี ไหล่ทางเนื่องจากอยู่ติดกับลำเหมือง เป็นอันตรายต่อผู้สัญจรไปมา โดย เฉพาะรถยนต์ในขณะที่รถวิ่งสวนทางกันบนผิวจราจรที่อยู่ในช่วงทางโค้ง- ถนนในหมู่บ้านบางส่วนยังเป็นถนนลูกรัง น้ำท่วมขังในฤดูฝน ถนนเป็น หลุม เป็นบ่อ- สะพานบางแห่งคับแคบและชำรุด- ถนนลาดยาง / คอนกรีต บางแห่งชำรุด เป็นหลุมเป็นบ่อ- ขาดป้ายประชาสัมพันธ์ และป้ายบอกทิศทาง- ถนนบางแห่งน้ำท่วมขัง เนื่องจากขาดทางระบายน้ำ
– ราษฎรขยายเขตที่อยู่อาศัย – ยังขาดงบประมาณในการขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะ
– ระบบประปาของหมู่บ้านใช้น้ำจากใต้ดิน ซึ่งเป็นสนิมเหล็ก – ขาดระบบการกรองน้ำที่มีคุณภาพ – ขาดงบประมาณในการขยายระบบประปาหมู่บ้าน
– เกษตรกรใช้น้ำจากน้ำแม่กวงในการเกษตร ซึ่งปริมาณน้ำมีน้อยไม่เพียงพอ – ขาดแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ในการเกษตรฤดูแล้ง/ขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ฤดูแล้ง – ระบบคลองส่งน้ำยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร |
ชื่อปัญหา | สภาพปัญหา |
4. ปัญหาด้านสังคม4.1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) คับแคบ ชำรุด ขาดวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน4.2 ปัญหาการว่างงาน /การอพยพหางานทำ4.3 ปัญหายาเสพติด
4.4 ขาดการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของราษฎร หมู่บ้าน ตำบล เช่น การจัดกิจกรรมเวทีประชาคม กิจกรรมเนื่องในวันสำคัญต่างๆ เป็นต้น |
– ก่อสร้างมาเป็นเวลานาน ชำรุด- เด็กใน ศพด. ได้รับการดูแลได้ดีไม่เท่าที่ควร- ขาดสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน และเครื่องอำนวยความสะดวก- อุปกรณ์เครื่องเล่นกลางแจ้งมีสภาพเก่าเนื่องจากใช้มาเป็นเวลานาน- ขาดความรู้ในการประกอบอาชีพ- การจ้างงานมีน้อย / อัตราค่าจ้างแรงงานต่ำ
– ไม่มีแหล่งงานในพื้นที่
– มีการระบาดการใช้ยาเสพติดในกลุ่มเยาวชนมีจำนวนค่อนข้างมาก – ครอบครัวขาดความอบอุ่น – ขาดสถานที่ในการออกกำลังกาย/จัดกิจกรรมร่วมกันของเยาวชน – เยาวชนขาดจิตสำนึก ไม่ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ขาดกิจกรรมร่วมกัน – ราษฎรขาดจิตสำนึกในการเป็นพลเมืองดี
– ผู้นำท้องถิ่นไม่เข้าถึงประชาชนอย่างแท้จริง เนื่องจากไม่มีเวลาว่างต้อง ประกอบอาชีพ ขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ – ท้องถิ่นขาดกฎระเบียบในการปฏิบัติร่วมกันเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และเพื่อ การดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข – ท้องถิ่นละเลยขนบธรรมเนียมประเพณีดีงามที่ปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนาน
|
ชื่อปัญหา | สภาพปัญหา |
5. ปัญหาด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม5.1 ขาดสถานที่/ อุปกรณ์ ในการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูล5.2 ประชาชนขาดโอกาสทางการศึกษาทั้งในและนอกระบบอย่างต่อเนื่อง5.3 จารีตประเพณีดั้งเดิมถูกละเลย5.4 ปัญหาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นมีน้อย5.5 ผู้ปกครองเด็กใน ศพด. / โรงเรียนมีรายได้น้อย
6. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6.1 ปัญหามลภาวะเป็นพิษทางอากาศ (กลิ่นเหม็นจากมูลสุกร) 6.2 ปัญหาการทิ้งขยะไม่ เป็นที่เป็นทาง
6.3 ลำน้ำตื้นเขิน |
– ขาดงบประมาณสนับสนุน- ราษฎรไม่ใส่ใจที่จะศึกษาหาความรู้ใส่ตัว เนื่องจากต้องใช้เวลาในการประกอบอาชีพ- ครัวเรือนยากจนทำให้เด็กขาดโอกาสเรียนต่อในชั้นเรียนที่สูงขึ้น
– ราษฎรมองไม่เห็นคุณค่าจึงไม่ใส่ใจในการอนุรักษ์
– สังคมปัจจุบันเป็นสังคมเมืองตัวใครตัวมัน การใส่ใจช่วยเหลือซึ่งกันและ กันมีน้อย – ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจส่งผลให้ราษฎรต้องประกอบอาชีพ ไม่มีเวลาว่างเข้า ร่วมกิจกรรมท้องถิ่น ไม่มีเวลาให้ทางราชการได้เผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูล แนวทางปฏิบัติที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน- ราษฎรบางครัวเรือนมีอาชีพเลี้ยงสุกรและบางครัวเรือนเลี้ยงเป็นจำนวนมาก เลี้ยงในชุมชน ส่งกลิ่นเหม็นของมูลสุกร – ราษฎรขาดจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม – มีวัชพืชปกคลุม – ประชาชนทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง
|
ชื่อปัญหา | สภาพปัญหา |
7. ปัญหาด้านสาธารณสุข7.1 ขาดสถานที่ เจ้าหน้าที่ในการให้บริการด้านสาธารณสุข/ขาดเครื่องมือทางการแพทย์ทันสมัย7.2 ราษฎรไม่ได้รับการคุ้มครองด้านการรักษาพยาบาล7.3 ขาดแคลนอุปกรณ์และสถานที่ในการออกกำลังกาย7.4 ขาดระบบระบายน้ำสาธารณะ และน้ำเสียทำให้น้ำขังท่วม
8. ปัญหาด้านการเมือง การบริหาร 8.1 ปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้นำท้องถิ่นกับข้าราชการการเมือง (สมาชิก เทศบาล) 8.2 ปัญหาการซื้อสิทธิ์ขาย เสียง และการไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง |
– เทศบาลตำบลป่าบง มีจำนวนหมู่บ้าน 6 หมู่บ้าน มีสถานีอามัยเพียงแห่งเดียว ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน- ขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญและเครื่องมือที่ทันสมัย- ราษฎรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการประกันสุขภาพ- ขาดงบประมาณในการสนับสนุน- บางหมู่บ้าน น้ำท่วมขังในชุมชนเนื่องจากเป็นที่ลุ่มขาดระบบระบายน้ำที่ดี
– บุคคลทั้งสองฝ่ายขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง
– ราษฎรขาดความรู้ความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง
|
ผลการวิเคราะห์ผังเมืองรวมหรือผังเมืองเฉพาะเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาทางกายภาพในพื้นที่
ทิศทางการพัฒนาองค์การ หน่วยงานที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาในท้องถิ่นในอนาคต
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) “One Vision, One Identity, One Community” “อาเซียน” เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,570 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590ล้านคน ในปี พ.ศ. 2553 ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของชาติสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลล่าสหรัฐอเมริกา อยู่ในลำดับที่ 9 ของโลก เมื่อเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวม มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการของอาเซียน ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลัก (Pillars)ได้แก่
1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community: APSC) มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาภายในภูมิภาคโดยสันติวิธี และยึดมั่นในหลักความมั่นคงรอบด้าน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community: AEC) เป็นเป้าหมายด้านเศรษฐกิจหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างอาเซียน ภายหลังการลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนประชาคมเศรษฐกิจมีองค์ประกอบสำคัญคือการเป็นตลาดและเป็นฐานการผลิตร่วมกัน โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมืออย่างเสรี และเงินลงทุนที่เสรีมากขั้น มีความสามารถในการแข่งขันสูง มุ่งสร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศอาเซียน และการส่งเสริมการรวมกลุ่มอาเซียนเข้ากับประชาคมโลก ขนาดของตลาดอาเซียนที่ใหญ่ขึ้น มีอำนาจซื้อสูงขึ้น ความสามารถในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่นที่เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยให้ชาติสมาชิกสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์อาเซียนมีโครงการเชื่อมโยงเส้นทางหลวงอาเซียน การเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟจากสิงคโปร์ ผ่านไปยัง มาเลเซีย ไทย กัมพูชา เวียดนามและสิ้นสุดที่เมือง คุณหมิงสาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากนี้ การปรับมาตรฐานของเส้นทางคมนาคมทางบกและทางรถไฟให้มีมาตรฐานเดียวกันได้ส่งเสริมความร่วมมือของอาเซียนด้านการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้นด้วย อาเซียนมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคโดยการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) และเริ่มรวมตัวกับประเทศหรือกลุ่มคู่ค้าสำคัญ เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย ฯลฯ ความเหนียวแน่นใกล้ชิดระหว่างกันจะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้อาเซียนสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดจากการรวมตัวกับประเทศคู่ค้าต่าง ๆประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในการขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า และการบริการในสาขาที่ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขัน เช่น การท่องเที่ยว โรงแรมและภัตตาคาร สุขภาพ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังจะช่วยเสริมสร้างโอกาสในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายังอาเซียน ซึ่งจะเพิ่มอำนาจการต่อรองของอาเซียนในเวทีการค้าโลก และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียนโดยรวม
3) ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ร่วมกันในสังคมที่เอื้ออาทร ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน และมีความมั่นคงทางสังคม (Social security) โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น
(1)การพัฒนาสังคม โดยการยกระดับความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่อาศัยในถิ่นทุระกันดาร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มต่างๆ ในสังคม
(2)การพัฒนาการฝึกอบรม การศึกษาระดับพื้นฐานและสูงกว่า การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างงานและการคุ้มครองทางสังคม
(3)การส่งเสริมความร่วมมือในด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เช่น โรคเอดส์ และโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง
(4) การจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
(5) การส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเขียน นักคิด
เป้าหมายสำคัญของ AEC และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
1) เพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการการลงทุน แรงงาน และเงินทุนที่เสรี
- อาจมีการลงทุนจากต่างประเทศ ในประเทศมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่า
- ธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SMEs อาจถูกซื้อกิจการหรือร่วมทุนจากต่างประเทศ
- เกิดความต้องการจากกลุ่มทุนต่างชาติให้มีการพัฒนาระบบเครือข่ายการคมนาคม รวมถึง
โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ มากขึ้น
- กลุ่มแรงงานวิชาชีพอาจโยกย้ายระหว่างประเทศตามแรงจูงใจทางด้านค่าจ้าง และกลุ่มแรงงานทั่วไปก็อาจย้ายเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
- การเคลื่อนย้ายในเรื่องแรงงานอาจก่อให้เกิดปัญหาโรคระบาดได้
2) เพื่อให้เกิดตลาดและฐานการผลิตร่วม
- การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรที่จำเป็นต่อการผลิต อาทิ เรื่อง กรรมสิทธิ์ที่ดินการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากยิ่งขึ้น และอาจมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมา
3) เพื่อให้เกิดการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
4) เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเสมอภาค
5) เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้ดีขึ้น
บทวิเคราะห์ผลกระทบของประชาคมอาเซียน (AEC) ต่อภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และข้อเสนอแนะแนวทางการปรับตัวผลกระนงการปรับตัว
1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวของการลงทุนภายในท้องถิ่น เช่นการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมและขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานที่จำ เป็นต่อการผลิตเช่น ไฟฟ้า และประปา ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจำเป็นต้องประสานความร่วมมือกับส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง
2) การพัฒนาส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจเนื่องการหลั่งไหลเข้ามาของทุนต่างชาติที่จะเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องให้ความสำคัญในการดูแลและช่วยเหลือกลุ่มอาชีพ กลุ่มผู้ผลิตในพื้นที่ โดยอาจจะต้องมีนโยบายในการส่งเสริมอาชีพ ทั้งอาชีพหลัก และอาชีพเสริมเปิดรับวิสัยทัศน์ในกระบวนการผลิตแบบใหม่ เพื่อยกระดับกระบวนการผลิตให้เป็นมาตรฐานเท่าเทียมกับระดับสากล และบทบาทในการส่งเสริมการลงทุนให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น
- สร้างองค์ความรู้ให้แก่ชุมชนในการปรับตัวและยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่มีการแข่งขันสูง
- ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นสร้างผลิตภัณฑ์ ต่อยอดและพัฒนาคุณภาพของสินค้าบริการ
- สร้างจุดแข็งของสินค้าบริการในพื้นที่ให้ได้คุณภาพมาตรฐาน
3) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป้าหมายเรื่องการสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของประชาคมอาเซียน ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเร่งปรับระบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องดูแลทรัพยากรและจัดการอย่างเป็นระบบ โดยเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนเน้นการจัดการบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน เพื่อสร้างความรัก ความหวงแหนในทรัพยากรและก่อเกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น เรื่องของการควบคุมมาตรฐานการดูแลรักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการจัดการที่มีประสิทธิภาพตลอดจนอาจต้องทบทวนขอบเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันในเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ต้องมีบทบาทมากขึ้นในการเฝ้าระวังการ
- มีการกำหนดแผนและมาตรการป้องกันและบรรเทาวิกฤติทางด้านสิ่งแวดล้อม
- มีการซักซ้อมทำความเข้าใจในแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งทบทวนขอบเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
4) สังคมและการพัฒนาคุณภาพชีวิตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องเตรียมรับผลกระทบจากปัญหาสังคม และสาธารณสุขที่อาจเกิดจากการเคลื่อนย้ายแรงงาน และนักท่องเที่ยวโดยเสรี อาทิ โรคระบาด ความขัดแย้งทางสังคมและเชื้อชาติ และอาชญากรรม ข้ามชาติ อาทิ ยาเสพติด การค้ามนุษย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเน้นการจัดบริการสาธารณะให้ได้มาตรฐานที่กำหนดในแต่ละงานหรือกิจกรรมอย่างเคร่งครัด รวมทั้งจะต้องจัดสวัสดิการสังคมสำหรับเด็ก กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มด้อยโอกาสอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง นอกจากนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องให้ความสำคัญกับการเข้าถึงการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน ซึ่งจะทำให้ชุมชนมีการดำรงชีวิตที่ปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
- มีแนวทางหรือนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องต่างๆ อาทิ การป้องกันโรคระบาดและการจัดการสาธารณสุขขั้นมูลฐาน การจัดการศึกษาให้กับลูกหลาน การบริหารจัดการเรื่องแรงงานต่างชาติที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย และการจัดสวัสดิการให้แก่แรงงานอพยพระทบ แนวทางการปรับตัว
5) การรักษาความสงบเรียบร้อย และ อาชญากรรมจากผลการเคลื่อนย้ายแรงงาน รวมทั้งให้การสนับสนุนกำลังอาสาสมัคร(อปพร.) กับหน่วยงานอื่นการต้องพัฒนาระบบและจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานอพยพร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนร่วมกับชุมชนในการกำหนดกติกาและหลักเกณฑ์ของชุมชนให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้ภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทรและมีความมั่นคง
- ควรต้องมีบทบาทหน้าที่ในเรื่องการเฝ้าระวังปัญหาด้านอาชญากรรมมากขึ้น รวมทั้งให้การสนับสนุนกำลัง (อปพร) กับหน่วยงานอื่น
- ควรต้องพัฒนาระบบ และจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานอพยพร่วมกับราชการส่วนกลางเพื่อนำมาใช้ในยามจำเป็น
- ในบางกรณี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจต้องร่วมกับชุมชนในการกำ หนดกติกาและหลักเกณฑ์ของชุมชนสำหรับแรงงานต่างชาติ
6) การจัดการด้านภาษา วัฒนธรรม และจารีตประเพณี
- จัดทำข้อมูลที่จำเป็น สำหรับแรงงานต่างชาติเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาอาเซียนอื่นๆ
- ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และทำความเข้าใจวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนการเข้าสูประชาคมอาเซียนเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาการจัดบริการสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานเป็นพื้นฐานของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจโดยเน้น “การพัฒนามาตรฐานด้านการศึกษา” ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาคุณภาพในการจัดการศึกษา โดยการสนับสนุนงบประมาณทางด้านสื่อการเรียนการสอน ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียนเพื่อการสื่อสารที่ดี การพัฒนาและสนับสนุนครูผู้สอนให้มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิกและนำเทคโนโลยีมาใช้ประกอบการเรียนการสอน ทำให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ที่ทันสมัยมีความเป็นสากล
- ควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมรักษาวัฒนธรรมภูมิปัญญาของตนเองเอาไว้
- เน้นจัดหลักสูตรการเรียนการสอน หรือ จัดตั้งศูนย์ภาษาประจำท้องถิ่นที่จำเป็นที่ใช้ในอาเซียน
ผลการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสการพัฒนาในอนาคต
ในการศึกษาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ศักยภาพ และข้อจำกัดในการพัฒนาของเทศบาลตำบลป่าบง ได้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์สวอท (SWOT Analysis) SWOT เป็นคำย่อในภาษาอังกฤษ
S = Strengths หรือจุดแข็ง หมายถึง ปัจจัยภายในต่าง ๆ ที่ช่วยให้การพัฒนาในระยะยาวขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าบงประสบผลสำเร็จ
W = Weaknesses หรือจุดอ่อน หมายถึง ปัจจัยภายในต่าง ๆ ที่หากไม่ได้รับการแก้ไข
อาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาในระยะยาวของเทศบาลตำบลป่าบง และทำให้การพัฒนาอาจไม่ประสบผลสำเร็จตามแผนที่วางไว้
O = Opportunities หรือโอกาส หมายถึง ปัจจัยเกื้อหนุนภายนอกที่เป็นประโยชน์ต่อ
การพัฒนาในระยะยาวของเทศบาลตำบลป่าบง ปัจจัยเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เทศบาลตำบลป่าบง จะต้องติดตาม คาดคะเน และหาโอกาสที่จะนำเอาปัจจัยเกื้อหนุนเหล่านั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในระยะยาวให้มากที่สุด
T = Threats หรือภัยคุกคาม หมายถึง ปัจจัยภายนอกที่เป็นอุปสรรคและข้อจำกัดต่างๆ ที่อาจจะเป็นอุปสรรคหรือเป็นผลเสียต่อการพัฒนาในระยะยาวของเทศบาลตำบลป่าบง
SWOT Analysis เป็นเทคนิคที่ใช้กันมากในการบริหารธุรกิจ และต่อมาได้ถูกนำมาใช้โดยส่วนราชการหลายแห่งในการวิเคราะห์ศักยภาพ โอกาส และข้อจำกัดของการพัฒนา เช่น การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และกลุ่มจังหวัดของกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น การนำเอาเทคนิคการ วิเคราะห์แบบ SWOT มาใช้ในการประเมินศักยภาพ ความพร้อมและปัจจัยเกื้อหนุน และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าบง นอกจากจะช่วยให้เข้าใจได้ง่ายและมองเห็นภาพได้ชัดเจนอีกด้วยซึ่งจากการใช้เทคนิค SWOT มาวิเคราะห์สถานการณ์ของเทศบาลตำบลป่าบง ซึ่งได้สรุปผลการวิเคราะห์ทั้งหมด 6 หมู่บ้าน ดังนี้
การวิเคราะห์โดยเทคนิค SWOT นี้ ได้ใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในด้านต่าง ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าบง ทั้งทางด้านสภาพทั่วไป ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมืองการบริหาร และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รวบรวมขึ้นเพื่อนำเสนอในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเทศบาลตำบลป่าบง ในการนำไปใช้ในงานด้าน อื่น ๆ เช่น การจัดทำแผนพัฒนาสามปี การจัดทำแผนปฏิบัติการ การจัดทำเอกสารบรรยายสรุป และการวางแผนทางการบริหารทั่ว ๆ ไป
จุดแข็ง ( Strengths )
- ราษฎรตื่นตัวมีส่วนร่วมในการพัฒนา ประชาชนให้ความสนใจเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมจำนวนมาก
- มีกลุ่มการเกษตร และกลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีความเข้มแข็ง
- มีการทำการเกษตรและมีพืชเศรษฐกิจคือการทำสวนลำไย
- มีแหล่งน้ำทำการเกษตรเพียงพอในการทำการเกษตร
- มีภูมิปัญญาชาวบ้านในการผลิตผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่
จุดอ่อน ( Weaknesses )
- กลุ่มอาชีพมีหลายกลุ่ม แต่ไม่มีความเข้มแข็ง ยังไม่มีความชัดเจนในการบริหารกิจการ
- มีปัญหาสิ่งแวดล้อม ขยะ มลภาวะทางอากาศ
- ไม่มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
- ขาดตลาดรองรับในสินค้าทางการเกษตรและสินค้าผลิตภัณฑ์ OTOP
- กลุ่มองค์กรชุมชนยังไม่เข้มแข็ง ยังไม่มีความสามัคคีกัน
- ขาดสถานที่ในการรวมกลุ่มเพื่อประกอบกิจกรรมร่วมกัน
โอกาส ( Opportunities )
- จังหวัดส่งเสริมให้ทำเมืองน่าอยู่
- เชียงใหม่มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย และเป็นที่รู้จัก เช่น เวียงกุมกาม
- สารภีมีพืชเศรษฐกิจที่ขึ้นชื่อ (ลำไย)
- มีหมู่บ้านที่ผลิตผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ สามารถพัฒนาเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวได้
- วัดยังเป็นศูนย์กลางของประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดีงาม
- ส่วนราชการที่อยู่ในเทศบาลตำบลป่าบง สามารถมีการประสานงานขอความช่วยเหลือได้ง่ายขึ้น
ข้อจำกัด/ภัยคุกคาม ( Threats )
- งบประมาณมีน้อย
- ผลิตภัณฑ์ในพื้นที่อื่นมีหลากหลายกว่า
- การบังคับใช้กฎหมายยังไม่จริงจัง
- ประชาชนยังไม่มีความเข้าใจถึงหลักเกณฑ์การรวมกลุ่มเพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ขาดการส่งเสริม พัฒนาสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่ม
- ขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการตลาด/การส่งออก
- หน่วยงานภาครัฐมีบุคลากรไม่เพียงพอที่จะดำเนินการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
- การแจ้งข้อมูลทางด้านคนยากจน/ข้อมูลจากการสำรวจ จปฐ. ยังไม่มีความชัดเจนและเป็นข้อมูลที่เป็นจริง ทำให้ยากต่อการให้ความช่วยเหลือไม่มีสถานที่สำหรับก่อสร้างเป็นศูนย์รวมในการประกอบกิจกรรมของชุมชนต่าง ๆ